ต่อเติมแล้วบ้านทรุด ?



ปัญหาคาใจสำหรับเจ้าของบ้านหลายท่านๆ คือ ต่อเติม
 
 บ้าน ต่อเติมครัว หรือต่อเติมพื้นที่ชั้น 2  แต่พอใช้งานไปได้
 
 ระยะหนึ่งๆ กลับเกิดปัญหาพื้นที่ต่อเติมทรุด หลุดออกจาก
 
 ตัวบ้าน
 
      
 
     
        โดยปกติมักลงเสาเข็มยาวลึกถึงชั้นดินแข็งจึงได้รับแรงพยุง
  2 ส่วนคือ “แรงเสียดทานจากดินอ่อน” และ “แรงดันจากชั้นดิน
 แข็ง” ในขณะที่ครัวส่วนต่อเติมมักลงแค่เสาเข็มสั้น  จึงมีแรงพยุง
 เพียงส่วนเดียวคือแรงเสียดทานจากดินอ่อนเท่านั้น  และนี่คือ
 เหตุผลหลักที่ทำให้ครัวส่วนต่อเติม ทรุดตัวเร็วกว่าบ้าน!!!

 

      นอกจากนี้ หากเกิดปัจจัยให้ชั้นดินอ่อนยุบตัวเร็ว เช่น ความ
 
ดันน้ำลดต่ำลงกว่าปกติ (มักเกิดบริเวณกรุงเทพฯและพื้นที่รอบๆ)
 
ผิวดินพร้อมส่วนต่อเติมที่ลงเสาเข็มสั้นไว้ก็จะทรุดตามด้วยเช่น
 
กัน
 
 

        หลักการง่ายๆ ไม่ว่าโครงสร้างชนิดไหนในโลกใบนี้ เมื่อรับ
 น้ำหนักแล้ว ทรุดหมดทุกตัว เพียงแต่จะทรุดมากหรือน้อยแตก
 ต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเข็มที่รับน้ำหนักไปหยุดที่ดินชั้นไหน ในที่นี้
 ชั้นดินที่ทำให้เกิดการทรุดตัวน้อยที่สุดคือ ชั้นทราย 
 
 
คำถามคือ แล้วชั้นทรายที่ว่านั้นอยู่ตรงไหน?
 ถ้าว่ากันง่ายๆชั้นทรายในพื้นที่แต่ละพื้นที่มีความลึกไม่เท่ากัน
 นั่นเอง อย่างเช่นในกทม ลึกถึง 19 – 25 เมตร 
 
 
แล้วทำอย่างไรไม่ให้ทรุด?

 
บ้านทรุดหรือส่วนต่อเติมทรุดนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามปกติ
 เพราะสิ่งก่อสร้างย่อมมีการทรุดตัวเป็นธรรมดา แต่การทรุดตัว
จะเกิดขึ้นน้อยมากหรือแทบไม่ทรุดเลย หากเลือกเจาะเสาเข็ม
เจาะที่สามารถเจาะลึกได้ถึงชั้นดินแข็ง ในตำแหน่งและจำนวน
เสาเข็มที่เหมาะสม สำหรับกรณีมีพื้นที่จำกัด อาจลงทุนเลือกใช้
เสาเข็มแบบ Micro Pile เพื่อความสะดวกในการก่อสร้าง แก้ไข
รากฐาน และความแข็งแรงมั่นคงของส่วนต่อเติม
 
 Digital credit : http://www.scgbuildingmaterials.com , http://www.nucifer.com/