การทำงานกับเครื่องเจียรอย่างไร อย่างถูกต้องและปลอดภัย



การทำงานกับเครื่องเจียรอย่างไร อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ในปัจจุบันในการทำงานของช่างนั้น นอกจากจะมีการใช้เครื่องมือช่างทั่วไปแล้ว ยังมี
การใช้งานเครื่องมือกลในการช่วยทำงานให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น หนึ่งในเครื่องมือกลพื้นฐาน
ที่สำคัญ คือ เครื่องมือกลประเภทเครื่องเจียระไน โดยจะถูกใช้ในงานตัดและขัดแต่งผิววัสดุ
เป็นหลัก ซึ่งมักจะใช้กับวัสดุชนิดเหล็กหรือโลหะเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทหลักที่
นิยมใช้งาน ดังนี้
u เครื่องเจียระไนแบบมือถือ (hand held grinder, angle grinder) – ช่างทั่วไป
นิยมเรียกว่า “ลูกหมู”
u เครื่องเจียระไนแบบตั้งโต๊ะ (bench grinder)

 

ในการทำงานกับเครื่องเจียรและตัดดังกล่าว มักจะ
มีข่าวอุบัติเหตุเกิดขึ้นอยู่เสมอ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่
จะต้องมีความเข้าใจในหลักความปลอดภัยในการใช้งานที่
ถูกต้อง ซึ่งจะแยกตามลักษณะและประเภทการใช้งานได้
ดังนี้
ความปลอดภัยทั่วไปในการทำงานกับเครื่องเจียระไน
ในงานตัดและขัดแต่งผิวโลหะ
q ก่อนปฏิบัติงานต้องตรวจสอบบริเวณโดยรอบ
และด้านล่างว่ามีสารไวไฟ เศษวัสดุหรือเชื้อเพลิง ที่อาจเกิด
อัคคีภัยหรือไม่ หากพบต้องนำออกให้หมด และหาก
ไม่สามารถนำออกได้ ต้องมีการปกคลุมด้วยวัสดุทนไฟ
ให้มิดชิด ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน
q ตรวจสอบสภาพเครื่องเจียรว่าการ์ดที่ติดตั้ง
มาพร้อมเครื่องอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่
q และสภาพของหินเจียรให้เรียบร้อย ไม่มี
รอยแตกร้าวหรือชำรุด ก่อนการใช้งาน
q ก่อนเริ่มงานให้ตรวจสอบว่าสวิตช์ปิด-เปิดทำงาน
อย่างเหมาะสมหรือไม่ และตรวจสอบการหมุนตามปกติ
ของเครื่องเบื้องต้นก่อนเริ่มทำงาน
q ในการเปลี่ยนใบหินเจียรทุกครั้ง ให้ทำการ
ปิดเครื่องและดึงปลั๊กออกเพื่อเป็นการตัดพลังงานไฟฟ้าออก
ก่อนเริ่มงานเปลี่ยนทุกครั้ง
q หากมีการเปลี่ยนใบหินเจียรใหม่ หลังติดตั้งแล้ว
เสร็จ ให้เปิดเครื่องทดสอบการหมุนก่อนว่ามีการทำงานหรือ
มีการสั่นสะเทือนที่ผิดปกติหรือไม่
q เครื่องเจียรที่ใช้ไฟฟ้าให้ตรวจสอบว่ามีการต่อ
สายดินไว้หรือไม่ ในกรณีที่ไม่มีสายดิน ต้องเป็นเครื่องใช้
ไฟฟ้าที่มีโครงห่อหุ้มเป็นพลาสติก และเป็นชนิดฉนวน
2 ชั้น (double insulation) ซึ่งจะมีสัญลักษณ์สี่เหลี่ยม
2 ชั้นระบุไว้
q ขณะปฏิบัติงานต้องมีแผงกั้นเศษโลหะกระเด็น
ออกไปโดนผู้อื่น
q บริเวณที่ปฏิบัติงานต้องห่างจากผู้อื่นในระยะ
ที่ปลอดภัย หากไม่สามารถทำได้ ให้หาแผงปิดกั้นเพื่อความ
ปลอดภัย
q ในการทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อนและ
ประกายไฟ ควรต้องมีการใช้ระบบอนุญาตให้ทำงาน (permit
to work) โดยการขออนุญาตจากผู้มีอำนาจหน้าที่ ก่อน
เริ่มงาน
q ควรจัดให้มีผู้เฝ้าระวังไฟ (fire watch man)
เป็นผู้ตรวจสอบและเฝ้าระวังทั้งก่อน ขณะทำงาน และหลัง
เสร็จสิ้นการทำงานในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีเหตุ
เพลิงไหม้จากการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ผู้เฝ้าระวังไฟจะต้องผ่าน
การอบรมก่อนเข้าปฏิบัติงาน
q ต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสม
เช่น ถังดับเพลิง ไว้ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
q หากปฏิบัติงานในพื้นที่ที่อับอากาศ ให้ตัดแยก
แหล่งพลังงาน พร้อมทำการล็อกและติดป้าย (lockout
tagout) ก่อนเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่
“ที่อับอากาศ” จะต้องผ่านการอบรมตามเกณฑ์ที่กฎหมาย
กำหนดก่อนเข้าพื้นที่

https://www.xn--22cd2c1arkbdmea1adsd9bk3c7crjcdn1mxj.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%